วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

โอวาทหลังทำวัตรค่ำ การปฏิบัติของพระใหม่ ณ วัดท่าขนุน


โอวาทหลังทำวัตรค่ำ "การปฏิบัติของพระใหม่"
โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม

....พูดถึงเรื่องการปฏิบัติ ผมดีใจที่พวกเราชุดนี้สนใจการปฏิบัติกันมาก มีทั้งขออนุญาตเดินทางไกล ไปค้างคืน และมีการฝึกแบบทหารเพื่อทดสอบกำลังใจด้วย แต่เราต้องไม่ลืมว่ากำลังใจเราจะดีขนาดไหนก็ตาม หรือศึกษามามากขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังอยู่ในสภาพของพระใหม่ ถ้ายังไม่เกิน ๕ พรรษา ถือว่าเป็นนวกะ ต้องอยู่ถือนิสัยภายใต้การอบรมของครูบาอาจารย์

ประวัติ หลวงปู่สาย อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน


พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส)
วัดท่าขนุน กาญจนบุรี

เมื่อหลวงพ่อสายอายุได้ ๓๒ ปี ขณะที่ยังรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ได้ป่วยเป็นฝีประคำร้อยขึ้นรอบคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและเเพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่หายจากการเจ็บป่วย จึงเข้ากราบมอบตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ท่านได้เมตตารักษาจนหายขาด อันเป็นเหตุให้หลวงพ่อสายเกิดความศรัทธาจึงขอบวชเป็นพระ หลวงพ่อเดิมท่านก็เมตตาจัดหาเครื่องอัฏฐบริขารให้ หลังจากบวชเเล้วได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยและเวทย์มนต์คาถาจากหลวงพ่อเดิมเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพจึงออกเดินธุดงค์ตั้งเเต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วิธีฝึกจิตให้เกิดปัญญา หลวงพ่อชา

เพลงประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ตอน1-37 จบสมบูรณ์)

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การฝึกสมาธิเบื้องต้น โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย


  พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้


การทอดกฐิน


การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)